ชนิดของคำในภาษาไทย (คำกริยา, คำวิเศษณ์)



      ๓. กริยา คือ คำที่แสดงการกระทำ แสดงอาการ หรือแสดงสภาพ คำกริยามี ๔ ประเภท ได้แก่

          ๓.๑ กริยาไม่ต้องมีกรรม (อกรรมกริยา) เช่น หกล้ม เดิน ขึ้น แตก

          ๓.๒ กริยาต้องมีกรรม (สกรรมกริยา) เช่น ล้าง เก็บ แจก ตรวจ

          ๓.๓ กริยาอาศัยส่วนเติมเต็ม(วิกตรรถกริยา) เช่น เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ

          ๓.๔ กริยาช่วย(กริยานุเคราะห์) เช่น กำลัง อาจ ต้อง ควร แล้ว ซิ นะ เถอะ






          ๔. คำวิเศษณ์ คือ คำที่ประกอบกับคำอื่น ๆ เพื่อขยาย นาม กริยา วิเศษณ์ ความหมายให้ชัดเจนขึ้น คำวิเศษณ์มี ๑๐ ประเภท ได้แก่

               ๔.๑ คำวิเศษณ์บอกลักษณะ (ลักษณวิเศษณ์) เช่น หอม ขรุขระ ชมพู ขม ดัง ใส

               ๔.๒ คำวิเศษณ์บอกเวลา (กาลวิเศษณ์) เช่น ทันที เที่ยง ก่อน

               ๔.๓ คำวิเศษณ์บอกสถานที่(สถานวิเศษณ์) เช่น หน้า หลัง ซ้าย ขวา

               ๔.๔ คำวิเศษณ์บอกปริมาณหรือจำนวน (ประมาณวิเศษณ์) เช่น ทั้งหมด มาก หนึ่ง สอง (จำนวนนับ)

               ๔.๕ คำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ (นิยมวิเศษณ์) เช่น นี้ แน่นอน เอง

               ๔.๖ คำวิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ (อนิยมวิเศษณ์) เช่น อื่น ใด ๆ ไหน ๆ

               ๔.๗ คำวิเศษณ์แสดงคำถาม (ปฤจฉาวิเศษณ์) เช่น อะไร ทำไม อย่างไร

               ๔.๘ คำวิเศษณ์แสดงการขานรับ (ประติชญาวิเศษณ์) เช่น ค่ะ ครับ พระพุทธเจ้าข้า

               ๔.๙ คำวิเศษณ์แสดงความปฏิเสธ (ประติเษธวิเศษณ์) เช่น ไม่ เปล่า หามิได้

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชนิดของคำในภาษาไทย (คำบุพบท, คำสันธาน, คำอุทาน)

ชนิดของคำในภาษาไทย

ชนิดของคำในภาษาไทย (คำนาม, คำสรรพนาม)