ชนิดของคำในภาษาไทย (คำนาม, คำสรรพนาม)

             
           ๑. คำนาม คือ คำที่มีความหมายถึงบุคคล สัตว์ สิ่งของ พืช ทั้งที่สามารถมองเห็นและมองไม่เห็นคำนามมี ๕ ประเภท ได้แก่

                   ๑.๑ คำนามไม่ชี้เฉพาะ (สามานยนาม) เช่น ถนน ภูเขา ช้าง
      
                   ๑.๒ คำนามชี้เฉพาะ (วิสามานยนาม) เช่น สมุทรสงคราม นิดา วัดมหาธาตุ

                    ๑.๓ คำนามบอกหมวดหมู่ (สมุหนาม) เช่น กลุ่ม ฝูง คณะ

                    ๑.๔ คำนามบอกอาการ (อาการนาม) เช่น ความสะอาด การออกกำลังกาย ความดี

                    ๑.๕ คำนามแสดงลักษณะ (ลักษณะนาม) เช่น ด้าม ชิ้น ผล หลัง 




          ๒. คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนนามเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำนามนั้นซ้ำอีก คำสรรพนามมี ๗ ประเภท ได้แก่

                   ๒.๑ สรรพนามใช้แทนบุคคล (บุรุษสรรพนาม) เช่น ฉัน เธอ คุณ เขา

                   ๒.๒ สรรพนามชี้เฉพาะเจาะจง (นิยมสรรพนาม) เช่น นี่ นั่น โน่น

                   ๒.๓ สรรพนามไม่ชี้เฉพาะเจาะจง (อนิยมสรรพนาม) เช่น ใคร อะไร ใด

                   ๒.๔ สรรพนามใช้ถาม (ปฤจฉาสรรพนาม) เช่น ใคร อะไร

                   ๒.๕ สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ  (วิภาคสรรพนาม) เช่น ต่าง บ้าง กัน

                   ๒.๖ สรรพนามเชื่อมประโยค (ประพันธสรรพนาม) เช่น ที่ ซึ่ง อัน

                   ๒.๗ สรรพนามที่เน้นตามคำรู้สึกของผู้พูด สรรพนามชนิดนี้ใช้หลักคำนามเพื่อบอกความรู้สึกของผู้พูดที่มีต่อบุคคลที่กล่าวถึง เช่น คุณครูท่านเป็นคนอารมณ์ดี (บอกความรู้สึกยกย่อง)

              

ความคิดเห็น

  1. ข้อมูลดีมากๆเลยจ้า

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาดีมากๆคะ

    ตอบลบ
  3. ได้ความรู้ดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชนิดของคำในภาษาไทย (คำบุพบท, คำสันธาน, คำอุทาน)

ชนิดของคำในภาษาไทย